ทุกวันนี้มีสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่ช่วยเราออกกำลังได้ง่ายขึ้น แต่การที่จะใช้อุปกรณ์เหล่านั้นให้ได้ผลดีที่สุดนั่นดูเป็นเรื่องที่น่าปวดหัว เว้นเสียแต่จะมีเทรนเนอร์มายืนคุม หรือคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญการออกกำลังเสียเอง โดยเฉพาะเครื่องออกกำลังกายยอดนิยมอย่างลู่วิ่ง
ลู่วิ่ง เป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ออกกำลังกายที่นิยมมากที่สุด ลู่วิ่งหรือ Treadmill ที่เราเห็นตาม Fitness ทั่วๆไปนั้นเคยสงสัยไหมว่า ตัวเลข % ของ Gradient ที่อยู่บนควบคุมบนลู่วิ่งนั้นมีไว้ทำอะไร ซึ่งส่วนใหญ่ ผู้ที่ออกกำลังหายอาจไม่ได้สนใจเท่าไหร่ อาจจะแค่ปรับระดับความเร็วบนวิ่งหรือ ตั้งค่า Program ในการวิ่งซะส่วนใหญ่
เลข Gradient คือ % ความชันของลู่วิ่งที่เราสามารถปรับความชันได้ โดยอ้างอิงจากความชันในความเป็นจริง โดยจะมีปุ่มกดที่มีศัพท์ใช้แตกต่างกันตามแต่ละยี่ห้อ เช่น Incline / ascend / elevates
ค่าความชันบนลู่วิ่ง มีประโยชน์อย่างไร
ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของแต่ละคน เพราะการบริหารแบบคาร์ดิโอ ไม่ว่าจะการวิ่งหรือการปั่นจักรยาน จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาและการออกแรง เช่นการลดไขมัน การฝึกกล้ามเนื้อ ซึ่งการเพิ่มความชันนั้น จะเพิ่มแรงต้านของเราตามองศาที่ปรับขึ้น จะทำให้ร่างกายเราเหนื่อยและเพิ่มโอกาสการเผาผลาญให้มากขึ้นด้วย
ลู่วิ่ง วิ่งเพื่อเผาผลาญไขมัน
ในกรณีของคนที่มีปัญหาที่หัวเข่าไม่สามารถวิ่งได้ ก็อาจจะเปลี่ยนมาเดินชันแทนได้ โดยใช้เวลาในการบริหารร่างกาย เพียงแค่ 45 – 60 นาที ก็จะสามารถเผาผลาญแคลอรี่ได้ถึง 120 – 200 กิโลแคลอรี่ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการปรับระดับความชันว่ากี่ % โดยส่วนใหญ่ เวลาเราขึ้นเนินที่ไม่ชันมาก ก็ปรับความชันที่ 2-3% ก็เพียงพอแล้ว สำหรับสายวิ่ง ที่ต้องการลงวิ่งแข่งมาราธอน และอยากฝึกกล้ามเนื้อขาเพื่อให้วิ่งหรือเดินได้ทนมากขึ้น ก็อาจจะปรับระดับความชัน ให้สูงขึ้นมาที่ระดับ 4-6 % และอาจปรับระดับความเร็วที่ 5-6 เป็นระยะเวลา 60 นาที ก็เพียงพอที่จะให้กล้ามเนื้อส่วนขาทำงานได้ดีมากขึ้นแล้ว อีกทั้ง ยังเหมาะกับผู้ที่ต้องการฝึกวิ่งเพื่อลงวิ่งในระยะไกลอย่าง Half หรือ Full Marathon ได้ดีอีกด้วย เพราะการวิ่งในสถานที่จริง มักจะมีความชันที่แตกต่างกันออกไป การฝึกกล้ามเนื้อให้ชินต่อความชันจะเป็นประโยชน์อย่างมาก
สำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการออกกำลังกายกับลู่วิ่ง ก็สามารถใช้ Gradient ให้ท่านเดินได้ แต่ต้องปรับความเร็วอย่าให้สูงเกินไป เพราะผู้สูงอายุไม่สามรถเดินได้เร็วเหมือนวัยหนุ่มสาว