ใช้บัตรกดเงินสด อย่างไรไม่ให้เป็นหนี้?

การใช้บัตรกดเงินสดแบบไม่ให้เป็นหนี้เลยนั้นอาจจะเรียกว่าเป็นไปไม่ได้ ต่างจากบัตรเครดิตที่ยังมีระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย 45-55 วัน (แล้วแต่สถาบันการเงินจะเป็นผู้กำหนด) ที่หากคุณชำระเต็มจำนวนภายในระเวลาปลอดดอกเบี้ย คุณจะไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแม้แต่บาทเดียว แต่บัตรกดเงินสดหากกดออกมาแล้วถือว่ามีดอกเบี้ยเกิดขึ้นแล้วทันที ยิ่งจำนวนวันในการชำระคืนนานเท่าใด ก็ยิ่งมีดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้นนานเท่านั้น ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการใช้บัตรกดเงินสดก็คือ รีบชำระคืนโดยเร็วที่สุดโดยไม่ต้องรอบิลเรียกเก็บเงินปลายเดือน ยิ่งชำระคืนเร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งเสียดอกเบี้ยน้อยเท่านั้นนั่นเอง

จะเห็นได้ว่าบัตรกดเงินสดนั้น เหมาะสำหรับเก็บเอาไว้ใช้เป็นวงเงินฉุกเฉินจริง ๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นกรณีที่ต้องใช้เงินก้อนด่วนแบบที่ไม่สามารถไปรออนุมัติสินเชื่อเงินกู้ได้ทัน และไม่มีเงินสดฉุกเฉินสำรองเอาไว้ เช่น ไปต่างประเทศแล้วร้านค้าหรือบริการไม่รับบัตรเครดิต หรือต้องรีบนำเงินไปชำระค่ารักษาพยาบาลในโรงพบาบาลที่ต้องสำรองจ่ายไปก่อน แล้วนำใบเสร็จไปขอเงินคืนจากบริษัทประกันทีหลัง เป็นต้น

อย่างไรก็ดี เราขอแนะนำว่าคุณควรจะเก็บเงินส่วนหนึ่งเอาไว้เป็นเงินสำหรับกรณีฉุกเฉิน ซึ่งเป็นเงินส่วนที่แยกจากเงินเก็บออมปกติและเงินเก็บสำหรับเกษียณอายุ โดยจำนวนนั้นไม่ตายตัวแต่โดยปกติจะนิยมเก็บเงินส่วนนี้ประมาณ 3-6 เดือนของรายได้ที่คุณได้รับต่อเดือน เผื่อเอาไว้ในกรณีที่ต้องใช้เงินก้อน ซึ่งวิธีนี้ จะทำให้คุณไม่ต้องเสียดอกเบี้ยให้บัตรกดเงินสด ที่คิดเป็นรายวันจนกว่าคุณจะชำระเงินคืนโดยไม่จำเป็นนั่นเอง

บัตรกดเงินสดนั้นถือว่ามีประโยชน์ในกรณีฉุกเฉิน แต่อัตราดอกเบี้ยและการคิดคำนวณดอกเบี้ยเป็นรายวันนั้น ถือว่าน่ากลัวสำหรับคนที่ใช้โดยที่ไม่วางแผนทางการเงิน ฉะนั้น มีเงินสดเก็บเอาไว้เผื่อในกรณีฉุกเฉินจะดีที่สุดนะคะ

โรงพิมพ์ กับการปรับตัวให้อยู่รอดในยุคเศรษฐกิจปัจจุบัน

เศรษฐกิจโลกยุคปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง และมีการแข่งขันที่สูงมากขึ้นเรื่อย ๆ หนึ่งธุรกิจที่เริ่มมีการแข่งขันสูงขึ้นคือ ธุรกิจโรงพิมพ์ และในปัจจุบันธุรกิจโรงพิมพ์แบบดั้งเดิมเริ่มอยู่รอดได้ยากจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ในยุคที่ผู้บริโภคมีบทบาทในการขับเคลื่อนธุรกิจการทำธุรกิจในรูปแบบเดิมๆ อย่างที่เคยทำมาในอดีตอาจจะไม่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าในปัจจุบันมากนักซึ่งถือเป็นความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว ทั้งนี้ ธุรกิจโรงพิมพ์ถือเป็นธุรกิจหนึ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างยาวนานแต่ในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า ธุรกิจโรงพิมพ์แบบดั้งเดิมเริ่มจะอยู่รอดยากขึ้นซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากภาวะที่เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะชะลอตัวตามปัจจัยเศรษฐกิจโลก รวมถึงภาคการท่องเที่ยวและภาคการส่งออกที่ยังไม่สดใสมากนักทำให้ธุรกิจโรงพิมพ์ซึ่งเป็นหนึ่งในห่วงโซ่ของธุรกิจการพิมพ์ได้รับผลกระทบตามไปด้วย

การเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยีไปสู่โลกดิจิตอล ทำให้องค์กรสื่อสิ่งพิมพ์หลายๆ ต้องปิดตัวลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนิตยสาร หนังสือพิมพ์ แม้แต่หนังสือพิมพ์แจกฟรี นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล ที่ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศได้รับการตอบรับจากหลายฝ่าย เพราะเข้ากับยุคสมัยที่ทุกอย่างมุ่งสู่โลกดิจิตอล แต่ในเวลาเดียวกัน สื่อมวลชนที่อยู่มานานในประเทศไทยอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ กลับต้องเผชิญกับความท้าทายในยุค 4.0 เมื่อสื่อออนไลน์กลายมาเป็นภัยคุกคามต่อสื่อกระดาษ ทำให้คนอ่านและยอดเงินโฆษณาลดลง จนหลายบริษัทตัดสินใจปรับโครงสร้าง เลิกจ้างพนักงาน ซึ่งรวมถึงตัวนักข่าว

วิธีการปรับตัวของ “ธุรกิจโรงพิมพ์” ให้อยู่รอด ท่ามกลางวิกฤตสื่อสิ่งพิมพ์ ที่ทยอยปิดตัวลงอย่างต่อเนื่อง จากพฤติกรรมการบริโภคสื่อออนไลน์มากขึ้น
1. เลือกให้บริการงานพิมพ์เฉพาะที่ถนัด
2. เลือกทำเลที่ตั้งใกล้กับลูกค้าเป้าหมาย
3. ควบคุมคุณภาพงานพิมพ์
4. บริหารวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ
5. บริหารบุคลากรให้เหมาะสม
6. ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ เพื่อดึงดูดลูกค้า
7. พัฒนาการบริหารงานลูกค้าในเชิงรุก

ดังนั้น การที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจบริการของโรงพิมพ์ผู้ประกอบการควรมีการเตรียมพร้อมในการให้บริการอย่างเป็นมืออาชีพโดยใส่ใจในลูกค้าตั้งแต่การรับงานพิมพ์ การประสานงานการรายงานความคืบหน้าของงานและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นโดยมีเจ้าหน้าที่เข้ามาดูแลอยู่ในทุกขั้นตอน ในขณะเดียวกันก็ต้องควบคุมคุณภาพการผลิตให้ได้มาตรฐานที่กำหนดไว้ ทั้งวัสดุการพิมพ์ต่างๆหรือทักษะแรงงาน เป็นต้น นอกจากนี้ทางผู้ประกอบการโรงพิมพ์ควรจะมีเครือข่ายหรือพันธมิตรที่สามารถพึ่งพากันในยามที่จำเป็น หรือรองรับงานในช่วงเวลาที่มีปริมาณงานมากก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจได้